วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการขับรถเกียร์ธรรมดา

1. ทุกครั้งก่อนออกจากรถ ผู้ขับรถควรจะปลดเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างเสมอพร้อมทั้งดึงเบรกมือ ค้างไว้ เพื่อป้องกันการหลงลืมเมื่อมีการไขกุญแจ
สตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งใหม่ เพราะเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยเกียร์ไม่ได้อยู่ ในตำแหน่งเกียร์ว่าง รถจะพุ่งไปข้างหน้า หรือถอยหลังอย่างฉับพลัน อันจะก่อ
ให้เกิดอันตรายได้ สำหรับการ ปลดเกียร์ว่าง นอกจากจะปฏิบัติก่อนออกจากรถทุกครั้งแล้ว อาจปฏิบัติในขณะรถติดนานๆ ได้ด้วย โดยดึงเบรกมือ แทนการ
เหยียบเบรก และคลัทซ์ค้างไว้ ช่วยพักเท้าคลายอาการเมื่อยล้าได้ด้วย
2. ควรเหยียบคลัทซ์ทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ มาสู่ระบบ ขับเคลื่อน เพราะหากลืมปลดเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์
ว่าง การเหยียบคลัทซ์จะทำให้รถไม่พุ่งไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน
3. มือใหม่หัดขับ มักพยายามหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ต้องขึ้นสะพาน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องติดค้าง อยู่บนสะพาน ผู้ขับมือใหม่มักกังวลว่าจะทำอย่างไร
ดีเพื่อไม่ให้รถไหลไปชนคันหลัง วิธีง่ายๆ ก็คือ ปลดเกียร์ว่าง พร้อมกับดึงเบรกมือ และเมื่อจะเคลื่อนตัวให้ผู้ขับเหยียบคลัชท์และเข้าเกียร์ 1 พร้อม ที่จะออก
แล้วเหยียบคันเร่งช้า ๆ พร้อมกับปลดเบรกมือ รถอาจจะไหลบ้างเล็กน้อยตามพื้นที่ลาดเอียง มือใหม่หัดขับไม่ต้องตกใจ ออกตัวรถไปตามปกติ
4. เลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วของรถ และเปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ไม่ต่ำ หรือสูงเกินไป (2,000 – 3,000 รอบ/นาที) จะทำให้
การขับขี่นุ่มนวลยิ่งขึ้น และประหยัดน้ำมันอีกด้วย
5. การชะลอรถ/หยุดรถ เมื่อขับมาด้วยความเร็ว ให้ค่อย ๆ แตะเบรก อย่าพึ่งเหยียบคลัทซ์ เพื่อให้กำลัง ของเครื่องยนต์เป็นตัวช่วยชะลอรถ (ENGINE BRAKE) จากนั้น เมื่อรถใกล้จะหยุด ให้เหยียบคลัทซ์ และเมื่อรถ หยุดสนิทให้ปลดเกียร์ว่าง พร้อมทั้งดึงเบรกมือเพื่อป้องกันรถไหล
6. หมั่นฝึกเปลี่ยนเกียร์ให้เกิดความชำนาญ โดยใช้ประสาทสัมผัสแทนการเหลือบมอง เพื่อป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุ

สิ่งสำคัญที่ไม่ควรจะละเลย นั่นคือ ไม่ควรวางเท้าไว้ที่แป้นคลัทซ์ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้เหยียบคลัทซ์ก็ตาม เพื่อยืดอายุการใช้งานของลูกปืนคลัทซ์ นอกจากนี้ ยังไม่ควรเลี้ยงคลัทซ์เมื่อรถติดอยู่บนเนินหรือสะพาน เพราะจะทำ ให้คลัทซ์ลื่น คลัทซ์ไหม้ และอายุการใช้งานของผ้าคลัทซ์ก็จะสั้นลงด้วย
เมื่อใส่เกียร์ถอยหลังแล้วปล่อยคลัทซ์ทำยังไงให้มันถอยไปช้าๆ ทั้งที่ยังไม่ได้เหยีบครันเร่ง
    เหยียบคลัทซ์ เข้าเกียร์ถอยปล่อยคลัทซ์ให้เบา ค่อยๆยกเท้าขึ้นช้าๆ พอรถเริ่มถอยหลัง ก็ค้างเท้าไว้ที่ระดับนั้นครับ
เนื่องจากมีปัญหาเวลาเปลี่ยนเกีร์ย ชอบดับคะ คือเหยียบคลัช เเล้วใส่เกียร์ พร้อมกับเหยียบตันเร่งเลยหรืเปล่าคะ เเต่หนูเหยียบคลัชจะใส่เกียร์ก็ดับนะคะ
    คุณก็เหยียบคลัชแล้วเข้าเกียร์ 1 แล้วก็ปล่อยคลัชช้าๆทีละนิดนะคับ พอรถเริ่มเคลื่อนตัวก็เหยียบคันเร่งทีละนิด พอรถรอบเครื่องซัก 1 กว่าๆ ถึง 2 ก็ปล่อยคลัชให้หมดไปเลยแล้วเหยียบคันเร่งอย่างเดียว พอรอบเครื่องสูงมากแล้ว เวลาเข้าเกียร์เพิ่มก็แค่เหยียบคลัชให้สุดแล้วก็ใส่เกียร์ 2 พอใส่เสร็จก็ปล่อย
คลัชให้หมดเลยแล้วเหยียบคันเร่งอย่างเดียว เพราะเวลาวิ่งรถมันจะไม่ดับอยู่แล้ว แล้วเวลาใส่เกียร์เพิ่มอีกก็ทำเหมือนใส่เกียร์ 2 นั่นแหละ เวลาจะหยุดรถเวลา
ขับเร็วๆ ก็เหยียบเบรกทีละนิดไม่ต้องเหยียบคลัชพอรถวิ่งช้า รอบเครื่องต่ำๆ แล้วก็เหยียบคลัชให้สุดแล้วก็ปลดเป็นเกียร์ว่างตรงกลางแล้ว ปล่อยครัชแล้วก็
เบรกอย่างเดียวจนรถหยุดอ่ะคับ
มีปัญหาเกี่ยวกับรถยนต์แอดมาที่ nuntawat_pas123456@hotmail.com หรือ paszaa.hi5.com ผมอายุ 14 แต่ขับเก่งพอควรแล้วอ่ะคับ
การขับรถถอยหลัง
    การเคลื่อนไหวต่างๆ ไปข้างหน้า ธรรมชาติมักจะอำนวยความสะดวกไว้ให้เพราะเรามีดวงตาอยู่ทางด้านหน้า เช่นเดียวกับการขับรถ มีนักขับรถ
จำนวนหลายท่าน ที่มีความชำนิชำนาญในการขับรถไปข้างหน้าอย่างคล่องแคล่วว่องไว ขับขึ้นเขาลงเขาได้ถูกต้อง แต่พอจะถอยหลังเข้าจอดหรือถอยหลังเพื่อ
ออกรถ หรือถอยหลังเพื่อกลับรถชักจะยุ่งใหญ่ ถอยแล้ว ถอยอีก ไม่ยอมเข้าที่เข้าทางได้สักที บางครั้งมองดูเป็นงุ่มง่ามเงอะงะไปเลยก็มี
    เพราะอะไรหรือ ก็เพราะว่าการขับรถถอยหลังนั้น การหมุนพวงมาลัยจะให้ความรู้สึกกลับกัน เพราะหมุนที่ล้อหน้า แต่กลับมาให้ความรู้สึกสนอง
ตอบที่ล้อหลัง ดังนั้นผู้ที่ไม่ฝึกหัดให้ชำนิชำนาญและคุ้นเคยกับปฏิกิริยานี้ มักจะขับได้ไม่ค่อยดี
    อีกประการหนึ่ง การที่เราขับไปข้างหน้าทันทีที่เราหมุนพวงมาลัย ความรู้สึกว่ารถสนองตอบจะเกิดขึ้นทันที แต่การขับรถถอยหลังนั้น หมุนพวง
มาลัยไปแล้ว ต้องทิ้งระยะสักชั่วครู่หนึ่งอาการสนองตอบของรถจึงจะเกิดขึ้น ทำให้ความรู้สึกในการขับรถของเราผิดไปจากปกติได้
    เคล็ดลับการขับรถถอยหลังประการแรกก็คือ ต้องพยามยามขับถอยหลังให้ความเร็วรถช้าที่สุดเท่าที่จะช้าได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ชินกับการสนองตอบของพวงมาลัยต่อรถ อย่าพยายามหมุนพวงมาลัยในขณะที่รถยังไม่เคลื่อนตัว แต่ให้หมุนทันทีที่รถเคลื่อนตัว จะทำให้หมุนพวงมาลัยได้สะดวก ง่าย เบามือ และยิ่งหมุนพวงมาลัยมากจนเกือบสุด ก็จะทำให้รถเคลื่อนตัวช้ามากขึ้นเท่านั้น
    เคล็ดลับประการที่สองก็คือ ล้อหน้าเท่านั้นที่เป็นจุดเล็งให้รถเข้าสู่เป้าหมาย การขับรถถอยหลังนั้นไม่ใช่ของง่ายนัก การฝึกหัดที่ถูกต้องคือต้องหัด
ถอยช้าๆ ไปในทางตรงๆ ก่อน และค่อยๆ เลี้ยวเป็นมุมพอคล่องแคล่ว จับอาการได้ดีแล้วจึงฝึกเลี้ยวซิกแซก ที่ยากขึ้น
    ท่านั่งในการขับถอยหลัง ท่านจะต้องขยับตัวจากที่นั่งจากปกติ จะขยับไปทางใด มากน้อยเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับร่างกายของท่านว่าเหมาะสมอย่างใด
และจะถอยหลังเลี้ยวซ้ายหรือถอยหลังเลี้ยวขวา เช่น ถ้าจะถอยหลังเลี้ยวซ้าย ท่านควรจับพวงมาลัยด้วยมือขวาและถือได้ว่าในตำแหน่ง 12 นาฬิกา ส่วนถ้า
เลี้ยวขวา  ก็ควรถือพวงมาลัยไว้ด้วยมือซ้ายตำแหน่ง 12 นาฬิกาเช่นกัน  ถ้าร่างกายอ้วนมาก อึดอัด ก็ให้ใช้มือที่ว่างพาดที่เบาะอีกตัวเพื่อประคองตัวเอาไว้
หรือที่เบาะนั่งของที่นั่งคนขับก็ได้
    การหมุนพวงมาลัย เป็นข้อที่ยากลำบากอย่างหนึ่งในการหมุนพวงมาลัยขับรถถอยหลัง เพราะจะต้องหมุนพวงมาลัยเร็วกว่ากำหนดเล็กน้อยก่อน
ถึงจุดเลี้ยว และเมื่อคืนพวงมาลัยให้ตรงก็ต้องหมุนให้เร็วว่าปกติสักเล็กน้อย รถจึงจะเข้าอยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการ ทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยการถอยอย่าง
ช้าๆ เพื่อมีเวลาดูสิ่งกีดขวางทั้งข้างหน้าและข้างหลังอย่างระมัดระวังตลอดระยะ เวลาที่รถถอยหลัง
    ข้อพึงจำและปฏิบัติในการขับรถถอยหลัง
    1. อย่าถอยรถจากถนนซอกซอย ถนนใหญ่ ถ้าไม่มีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะโอกาสจะถูกรถที่วิ่งในถนนใหญ่มาชนสูงมาก
    2. อย่าถอยรถจนกว่าจะมั่นใจว่าปลอดภัย ถึงแม้จะมีคนคอยช่วยดูทางให้ก็ตาม
    3. พยายามอย่าถอยรถในระยะทางยาวๆ  เพื่อความสะดวกแก่ตนเอง เพราะอาจจะเกะกะกีดขวางคนอื่นๆ และอาจไม่ปลอดภัยด้วย จึงควรถอย
หลังให้สั้นที่สุด
     4. ทุกครั้งที่ขับรถถอยหลัง  ต้องพร้อมที่จะหยุดรถให้ได้ทุกวินาที
    ถ้าทำได้ดังนี้ครบทุกข้อ ท่านก็จะขับรถถอยหลังได้โดยถูกต้องและปลอดภัย
การขับรถยนต์ เกียร์ธรรมดา หรือที่เรียกว่าเกียร์กระปุก
    ขั้นแระเราต้องรู้จักกับตำแหน่งของเกียร์กันก่อน ส่วนใหญ่จะมี  5  เกียร์  และ  เกียร์ถอยหลัง
    เกียร์  1  อยู่ทางซ้ายด้านบน
    เกียร์  2 อยู่ทางซ้ายด้านล่าง
    เกียร์  3  อยู่ตรงกลางด้านบน
    เกียร์  4  อยู่ตรงกลางด้านล่าง
    เกียร์  5  อยู่ทางขวาด้านบน
    เกียร์  R  อยู่ทางขวาด้านล่าง
    เท้าด้านซ้ายใช้ในการควบคุมคลัชในการเพิ่มเกียร์หรือลดเกียร์ เท้าด้านขวาใช้ในการควบคุมเบรคและคันเร่ง
    การฝึกเลี้ยวกัน
    เริ่มจากการเลี้ยวด้านซ้าย ให้ขับรถเดินหน้ากะระยะประมาณด้านหน้ารถด้านซ้ายเกือบถีงช่องทางที่ ต้องการเลี้ยว เราก็หมุนพวงมาลัยไปทาง
ด้านซ้ายในขณะที่หมุนให้ เคลื่อนรถไปด้วยช้า ๆ พอระยะรถเกือยตรงช่องทางก็ให้คืนพวงมาลัยไปทาง ด้านขวาให้รถตรง การเลี้ยวขวาก็ทำนองเดียวกัน
ข้อควรจำ ถ้าเราต้องการให้รถเคลื่อนไปทางใด ก็ให้หมุนพวงมาลัยไปทางที่เราต้องการ ขณะที่หมันให้สังเกตุว่ารถของเราอยู่ในทิศทางใด
    การทำงานของคลัช มี 3 ระยะ
    ระยะที่ 1 ระยะฟรี คือปล่อยคลัชนิดเดียวรถจะไม่เคลื่อน
    ระยะที่ 2 ระยะเริ่มทำงาน คือปล่อยคลัชแค่ระเรื่มสั่น ระจะเคลื่อนที่ช้า ๆ
    ระยะที่ 3 ปล่อยคลัชให้หมด คราวนี้ เร่งเท่าไร ก็จะเร็วขึ้นตามคันเร่ง (แต่ก็ต้องเปลี่ยนเกียร ด้วยนะ )
    การขับรถขึ้นเขา
    * ควรใช้เกียร์ต่ำ ปรับเปลี่ยนเกียร์เมื่อรถเสียกำลังอย่าลากเกียร์จนหมดแรงส่ง ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติ ให้ใช้เกียร์ 2 ในการขับขึ้นเขาลงเขา และ
เปลี่ยนไปใช้เกียร์ D บ้างเมื่อรถอยู่ในทางราบ การขับให้ใช้เกียร์ช่วยตลอดทางเกียร์อัตโนมัติไม่พังง่ายๆ หรอกครับ
    * เมื่อขับลงเขาที่ลาดชันมากและยาวไกล ก่อนเข้าโค้งให้เปลี่ยนเกียร์จากตำแหน่ง D มา 2 ถ้า 2 ยังเอาไม่อยู่ให้เปลี่ยนมา L แต่อย่าทำขณะฝนตก
ทางลื่นรถจะเสียการทรงตัว การใช่เกียร์แต่ละเกียร์ควรดูสภาพทางเป็นหลักในการพิจารณา ส่วนเกียร์ธรรมดาการทำงานจะง่ายกว่า มีเกียร์ให้เล่น 5 ตำแหน่ง
และมีคลัตช์ช่วยในการส่งกำลังไปยังล้อที่เราต้องการได้ทุกขณะ แต่เกียร์อัตโนมัติบางรุ่นจะทำงานไม่ได้อย่างที่เราต้องการเพราะฉะนั้นควรประเมินสภาพทาง
ก่อนใช้เกียร์ดีที่สุด
    * การขับเข้าโค้งธรรมดาหรือบนภูเขา ควรมองให้ไกลให้ลึกและให้คนนั่งข้างช่วยดูสภาพทางด้วย เมื่อแน่ใจว่าไม่มีรถสวนมาให้ใช้วิธีตัดโค้งวิธีนี้จะช่วยให้รถทรงตัวดี, เข้าโค้งได้เร็ว, รถไม่ใช้กำลังมาก ลูกปืนล้อมไม่ทำงานหนัก, ยางก็ไม่ล้มตัวมาก หน้ายางจะสัมผัสผิวถนนได้มากตามไปด้วยแต่ต้องแน่ใจ
ว่าไม่มีรถสวนมา สมมุติจะเข้าโค้งขวาก่อนเข้าโค้งให้ถอนคันเร่งลง หัดพวงมาลัยไปทางซ้ายนิดหนึ่ง แล้วหัดพวงมาลัยมาทางขวาเพื่อทำโค้งให้กว้างขึ้นใช้พื้น
ที่ถนนทุกตารางนิ้ว ถ้ารถจะเลี้ยวซ้ายก็ให้เลี้ยวทางขวานิดหนึ่งแล้วเลี้ยวซ้าย การฝึกใหม่จะรู้สึกฝืนความรู้สึกบ้าง ถ้าขับชำนาญแล้วก็จะชินไปเอง
    * การขับรถโค้งต่อเนื่องรูปตัว S มองให้ไกล มองให้ลึก เมื่อแน่ใจว่าทางว่าง ไม่มีรถสวรมาให้ถอนคันเร่งลงแล้วเสียบตัดโค้งในแนวการขับเป็น
เส้นตรงที่สุด ง่ายไหม ?...ครับ แต่การขับรถลักษณะนี้ถ้าไม่แน่ใจเส้นทางข้างหน้าหรือทัศนวิสัยไม่ดีควรขับ เข้าทางโค้งธรรมดา อยู่ในทางของเราเอง
    * การขับรถเข้าโค้งหักศอกขึ้นเขารูปฟันปลา การขับแบบนี้ต้องให้ผู้ช่วยดูรถด้านซ้ายด้วยโดยมองถนนด้านบนก่อนว่าไม่มีรถ สวนลงมากดแตรรถ
ก่อนจะขับขึ้นไป หลักการขับก็เหมือนเข้าโค้งธรรมดา จะเลี้ยวซ้านก็หัดพวงมาลัยไปทางขวาก่อนแล้วหักพวงมาลัยไปทางซ้ายเข้าโค้งเมื่อรถเข้าโค้งล้อหน้าจะ
เกิดแรงต้าน รถต้องใช้กำลังมาก ทำให้รถขับขึ้นได้ช้า ควรคืนพวงมาลัยกลับมาบ้าง และเร่งเครื่อง ทำแบบนี้เป็นจังหวะไปมาจนพ้นโค้ง การขับลงโค้งแบบ
นี้อย่าใช้ความเร็ว ควรลงช้าๆ ใช้เบรกช่วยชะลอความเร็วแต่อย่าเหยียบแรงท้ายรถจะปัด ยิ่งหน้าฝนท้ารถจะปัดได้ง่าย ถ้าท้ารถปัดรถจะเสียการทรงตัวให้หัก
พวงมาลัยไปทิศทางท้ายรถ เช่น เลี้ยวซ้ายท้ายรถปัดไปทางขวาก็ให้หักพวงมาลัยไปทางขวา เมื่อรถทรงตัวได้แล้วบังคับให้บังคับรถไปในทิศทางที่ต้องการถ้า
เอาไม่อยู่ให้เลือกทางภูเขาไว้ก่อน อย่าเลือกทางหน้าผาก็แล้วกัน
    * การเพิ่มระยะทางการเบรก การเบรกรถกะทันหัน รถเราอาจไปชนรถข้างหน้า ควรเลี้ยวรถดึงพวงมาลัยไปทางไหล่าทาง หรือมีพื้นที่เพื่อเพิ่มระยะทางการเบรก
    * การขับรถบนภูเขาที่มีทางคดเคี้ยวไปมาเป็นเวลานานๆ เมื่อถึงทางตรงลงเขายางไกล คนขับส่วนมากจะขับเร็วรถมาก อันตรายมากนะครับทางแบบนี้ น้ำหนักรถ ความเร็ว ระยะทางถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เช่น มีรถ, คน, ฯลฯ ขึ้นจากข้างทางหักหลบไม่พ้นแน่ ถึงจะหักหลบได้แต่รถต้องเกิดอะไรแน่นอน ไม่พลิกคว่ำ แหกข้างทางเข้าป่า หรือไม่ก็ชนรถ
ที่วิ่งสวนมา
    * การขับในทัศนวิสัยไม่ดี ทางโค้งแคบที่มีสันเขาบังสายตา ควนเข้าโค้งแบบธรรมดา ต้องบีบแตรส่งสัญญาณุกครั้งก่อนจะเข้าโค้งเพื่อป้องกันรถที่วิ่งสวรมา เนื่องจากคน
ที่ขับรถเจ้าถิ่นบนภูเขาเป็นประจำจะขับรถตัดโค้ง
    * ทางลูกรังหรือทางที่มีหินลอย ทางแบบนี้ถือได้ว่าเป็นทาง ‘ปราบเซียน’ กลิ้งกันมาหลายคันครับ การที่ล้อรถลอยตัวขณะวิ่งเข้าโค้งเราไม่สามารถบังคับได้อย่างที่ต้องการ
และการที่เราไม่คุ้นเคยกับเส้นทางมาก่อนก็ไม่ควรขับรถด้วยความเร็วสูง
    ขับทางเขาเข้าโค้ง
    ลักษณะทางโค้ง
    - โค้งหักศอก การเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงนั้น สามารถทำได้ก่อนเข้าโค้งให้ทำการลดเกียร์ไป 1 เกียร์ ควรชิดขวาติดเส้นกึ่งกางถนนไว้ ( เพื่อป้อง
กันรถที่อาจสวนมาได้ทุกเมื่อ ) แล้วหักตัดเข้าไปหาจุดศูนย์กลางของโค้ง จะทำให้รถไม่สูญเสียความเร็วมากนัก แล้วทำการเร่งออกจากโค้งต่อ
    - โค้งที่อ้อมเขาเป็นระยะยาว ก่อนเข้าโค้ง ลดเกียร์ออก 1 เกียร์ แล้วติดติดเส้นถนน ฝั่ง ซ้าย ไว้ แล้วเร่งเครื่องเป็นจังหวะ ( คือการรักษาความ
เร็ว ) เพื่อป้องกันการหลุดโค้ง จากความเร็วที่เพิ่มขึ้น เมื่อใกล้ถึงช่วงที่จะหลุดจากโค้ง ให้เร่งได้เต็มที่ รถจาพุ่งออกจากโค้ง แล้วตำแหน่งรถจะไปอยู่ตรงเส้น
แบ่งถนน พอดี อย่าให้เกินเส้นแบ่งถนนเพราะถ้ารถสวนมาแล้วจะแย่
    - โค้งตัว S ซ้าย ก่อนเข้าโค้งก็ให้ลดเกียร์ 1 เกียร์ ไม่ต้องแตะเบรก ไม่ต้องย่ำครัช โดยอาศัยเกียร์ที่ลดลงเป็นตัวลดความเร็วให้กับรถก่อนเข้าโค้ง
แล้วติดชิดซ้ายสุดไว้พอจะหลุดโค้งแรกให้ปล่อยลดไหล ไปอยู่ตรงเส้นแบ่งถนน ( ยังคงหยีบคันเร่งอยู่ ) หลังจากนั้น ก็ทะยานออกจากโค้งไป เช่นกัน        - โค้งตัว S ขวา ทำเหมือนกับ โค้ง S ซ้ายคับ ต่างกันตรงที่ ตอนเริ่มเข้าโค้งนะให้ชิดติดเส้นแบ่งถนน พอจะออกจากโค้งแรกให้ ชิดทางด้านซ้าย
เข้าหาจุดศูนย์กลางของโค้งที่ 2 ทั้งหมดนี้ ได้มาจากประสบการณ์จากการขับจริง และเน้นความปลอดภัย ในการอยู่ในช่องทางของตนเอง การวิ่งตัดเลนนั้น
อันตราย เสียงต่อการประสานงานอย่างยิ่ง ไม่แนะนำ เพราะเคยเห็นแยะแล้วเคยลองใช้วิธีนี้ตามรถที่วิ่งตัดเลนเหมือนกัน สรุปว่า ของวิธีนี้ดีกว่าเพราะมีการ
ทดเกียร์ เพื่อเพิ่มกำลังและอัตราเร่งของรถได้ดีกว่า และควบคุมรถได้ดีกว่า เพราะในการตัดเลนนั้น ยังคงใช้ความเร็วปกติ เมื่อมีความเร็วสูงๆ จะควบคุมรถ
ได้ยากถ้าหากเกิดมีรถสวนมาที่มีความเร็ว จะทำให้เสียหลักและเสียการควบคุมได้ง่ายขอแนะนำให้ลองใช้ดู โดยการใช้การทดเกียร์และการเลือกไลน์ในการวิ่ง
แต่ขอให้อยู่ในเลนของตัวเอง จะแน่นอนที่สุด

    เทคนิคการขับรถในสภาพทางต่าง ๆ
    การเดินทางด้วยรถยนต์ ต้องเผชิญกับหลากสภาพและรูปแบบการขับ เช่น การขับตอนกลางคืน หรือการขับบนทางชัน ซึ่งแต่ละสถานการณ์
มีเทคนิคการขับอย่างปลอดภัยต่างกั น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
    รถยนต์ติดบนทางชัน
    สำหรับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หากเป็นการจอดติดที่นานมาก สามารถดึงเบรกมือไว้ เหยียบเบรก พร้อมปลดตำแหน่งมายังเกียร์ว่าง-N นอก
จากเป็นการติดช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 5 นาที สามารถเหยียบแป้นเบรกค้าง หรือ ดึงเบรกมือไว้ โดยตำแหน่งเกียร์ยังอยู่ที่ D เมื่ออกตัวก็ยกเท้าจากแป้นเบรก
มากกดคันเร่ง แล้วจึงปลอดเบรกมือบางคนคิดว่าการกระทำแบบนี้ จะทำให้เครื่องยนต์เสียหากซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนักเพราะขณะจอดนิ่งเครื่องยนต์
อยู่ในรอบเดินเบาจึงมีภาระน้อย และในชุดเกียร์อัตโนมัติก็ไม่มีการขับเคลื่อนใดๆ เพราะมีการเบรกอยู่ และที่ทอร์คคอนเวิร์ดเตอร์ก็สามารถหมุนฟรีได้
แต่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเกียร์สลับไป-มา ระหว่างเกียร์ N และ D ชุดคลัตช์จะมีการจับ-ปล่อยหลายครั้ง ทำให้มีความสึกหรอมากกว่าการค้างอยู่ในเกียร์
D และเหยียบเบรกหรือดึงเบรกมือไว้ กรณีนี้คล้ายกับการจอดรถยนต์บนการจราจรทางราบปกติ ควรเหยียบเบรกและค้างไว้ที่ตัว D ไม่ต้องปลดมาที่ N ถ้าไม่ได้จอดริมทางหรือการจราจรติดขัดอย่างหนัก
    ส่วนรถยนต์เกียร์ธรรมดาที่ต้องหยุดบนทางลาดชัน ให้ดึงเบรกมือและปลดเป็นเกียร์ว่าง ก่อนออกตัวเหยียบแป้นเบรก พร้อมเข้าเกียร์ 1 จาก
นั้นจึงปล่อยคลัตช์และค่อย ๆ  เหยียบคันเร่ง เมื่อเริ่มรู้สึกว่ารถยนต์กำลังเคลื่อนตัวจึงปลดเบรก มือลง วิธีนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และไม่ต้องเสี่ยงกับ
การที่รถยนต์ไหลไปชนกับคันหลังอี กด้วย
    ขับกลางคืนอย่างมั่นใจ
    หลายคนอาจชอบการขับรถยนต์ตอนกลางคืน เพราะไม่ต้องเผชิญกับการจราจรที่ติดขัดหรือแดดร้อน ทำให้ขับได้สบายและใช้ความเร็วได้สูงกว่า
ความจริงแล้ว การขับในตอนกลางคืนแม้สบายจริง แต่ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น เพราะทัศนวิสัยในการมองเห็นถูกจำกัด ทำให้มีเวลาในการตัดสิน
ใจน้อยลง จึงควรใช้ความเร็วต่ำกว่าตอนกลางวัน  ส่ายสายตาป้องกันการหลับในการสร้างความตื่นตัวตลอดเวลาที่ขับตอนกลางคืนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ
ร่างกายอาจอ่อนล้ามาจากการทำงานในช่วงกลางวัน จนทำให้ประสิทธิภาพในการขับลดลงควรส่ายสายตาไปมา  ไม่เพ่งอยู่กับจุดใดจุดหนึ่งนานเกินไป
เพราะอาจทำให้เกิดความล้าทางสายตา จนเหม่อลอยและหลับในได้หากรู้สึกอ่อนเพลีย ควรพักสายตาาด้วยการเหลือบมองไปทางกระจกมองข้างซ้าย-ขวา
สลับกับการมองทางข้างหน้า จะช่วยกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัวได้ระดับหนึ่ง  และเป็นการพักสายตาจากการเพ่งมองแต่ทางข้างหน้าแต่ถ้ารู้สึกเหนื่อยหรือ
ง่วงนอนจริง ๆ ควรจอดพักริมทางในจุดที่ปลอดภัยทั้งจากโจรผู้ร้ายและ รถยนต์ที่ขับไปมา ไม่ควรฝืนร่างกายต่อไปเพราะอาจเป็นอันตรายได้
    ระวังจุดก่อสร้างให้ดี
    ในช่วงกลางคืน บนเส้นทางธรรมดาโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มักมีการสร้างถนนหรือขุดเจาะ ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบเส้นทางการเดินรถจาก
ปกติ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการก่อสร้าง ผู้ขับควรระวังในจุดนี้ เพราะอาจสร้างความสับสนจนเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนั้น อีกจุดที่ต้องระวังเป็น
พิเศษก็คือ การกั้นช่องทาง เพราะบ่อยครั้งที่มักมีการปืดในบางช่องเพื่อการก่อสร้าง โดยไม่มีการเปิดสัญญาณไฟเตือนหรือปักป้ายบอกให้ผู้ขั บทราบล่วง
หน้าในระยะที่เพียงพอต่อการเตรียมตัว
    อันตรายจากทุกสิ่งกีดขวาง มีมากที่ผู้ขับต้องระมัดระวังในการขับกลางคืน เช่น
    - การจอดรถยนต์ริมทางเดินเท้าในช่องทางซ้ายสุด ตามเส้นทางต่าง ๆ
    - รถยนต์จอดเสียอยู่ข้างทาง เพราะบ่อยครั้งที่เจ้าของรถยนต์มักไม่นำป้ายสัญญาณมา บอกเตือนก่อนล่วงหน้า และที่แย่ไปกว่านั้น คือมักไม่
มีการเปิดไฟฉุกเฉิน ซึ่งที่เห็นบ่อยก็คือ บรรดารถประจำทางทั้งหลายที่มักนำแค่เบาะนั่งมาวางพาด กันชนหลัง โดยไม่เปิดไฟฉุกเฉิน
    - ผู้ขับรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่มักไม่ชอบเปิดไฟหน้าหรือ ไม่มีไฟส่องสว่าง
    - บ่อยครั้งที่อาจมีสุนัขหรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่น วิ่งตัดหน้า หากสุดวิสัยจริง ๆ คงต้อชน เพราะถ้าเบรกกระทันหันหรือหักหลบเราอาจเป็น
อันตรายได้

    > เทคนิคการดูไฟหน้า+ไฟท้าย..เวลาขับรถ ตจว.

    > > มันต้องแยกก่อนครับว่าเราขับตามกัน หรือว่าเราขับสวนทางกัน
    > > เอาที่ขับตามกันก่อนนะครับ และรถบรรทุกอยู่ข้างหน้าเรา
    > > กรณีนี้เราจะมองเห็นแต่ไฟท้าย ให้สังเกตไฟเลี้ยวนะครับ
    > >
    > > *เปิดซ้ายที ขวาที สลับกัน หมายความว่าให้ระวัง เค้าอาจจะเบรค
    > > หรือข้างหน้ามีปัญหา
    > > อาจมีด่าน มีอุบัติเหตุ หรือข้างหน้าเบรคกระทันหัน สรุปก็คือ
    > > ให้ระวังไว้ครับ
    > > อย่าเพิ่งแซงขึ้นไปในตอนนี้ ขับตามกันไปก่อน
    > >
    > > *เปิดกระพริบคู่ หรือที่เรียกว่าไฟผ่าหมาก ถ้าใกล้แยก
    > > เค้าอาจจะบอกว่าเค้าจะตรงไป
    > > หรืออีกนัยหนึ่ง
    > > ถ้าเค้าเปิดกระพริบคู่หลังจากที่เปิดซ้าย ขวาสลับกัน
    > > แสดงว่าเค้ากำลังจะหยุดรถแล้วนะครับ ให้ระวังไว้   
    > >
    > > *เปิดซ้ายอย่างเดียว ถ้ากรณีนี้รถวิ่งตามกันอยู่ในทาง
    > > และเค้าไม่ได้เข้าจอด หมายความว่า
    > > เค้ายินดีให้เราแซงขึ้นไปได้ครับ และถ้าหากเป็นเลนสวน
    > > แสดงว่าข้างหน้าไม่มีรถสวน
    > > ให้เราแซงได้โดยปลอดภัยครับ
    > >
    > > *เปิดขวา อาจเปิดค้าง หรือเปิดเป็นจังหวะ ถ้ารถวิ่งตามกันอยู่
    > > แสดงว่าเค้าไม่ให้เราแซง
    > > หรือ เค้าอาจกำลังจะแซงรถคันหน้า หรือกำลังจะเลี้ยวขวา
    > > หรือถ้าเป็นเลนสวน เค้าบอกว่า
    > > กำลังมีรถสวนมาครับเพราะงั้น หากเห็นเค้าเปิดไฟเลี้ยวขวา
    > > ห้ามแซงออกไปเด็ดขาดครับ
    > > ให้รอจนกว่าเค้าจะแซงไป หรือ จนกว่าเค้าจะเปิดไฟเลี้ยวซ้ายครับ
    > >
    > > ** ในกรณีของการขับรถตามกัน
    > > หากเราแซงขึ้นไปจนพ้นจะสังเกตได้ว่าเค้า จะทำสองอย่างครับ
    > >
    > > อย่างแรกคือในจังหวะที่รถเรากำลังตีคู่ กันเค้าจะเปิดไฟสูง
    > > ให้เราเห็นทางข้างหน้า
    > > และลดไฟลงต่ำเมื่อเราแซงพ้น หรือบางคันอาจปิดไฟหน้า
    > > หากเป็นตอนกลางคืน นั่นหมายความว่า
    > > เราแซงพ้นแล้ว ให้เข้ามาในเลนได้
    > > แต่ถ้าเป็นกลางวันเค้าจะกระพริบไฟ 1 ทีครับ
    > > หรืออีกอย่าง เค้าอาจบีบแตรเบาๆเป็นสัญญาณให้ 1 ทีก็ได้ครับ
    > > แต่หลักที่นิยมทำกัน คือเมื่อเค้าเปิดทาง และเราแซงขึ้นไป
    > > เมื่อเราแซงไปในระดับเดียวกับรถเค้า
    > > เราจะบีบแตรสั้นๆ 1 ครั้งเป็นการขอบคุณ
    > > และคุณมักจะได้ยินเค้าบีบตอบสั้นๆ 1 ครั้งเช่นกัน
    > >
    > > แล้วถ้าขับสวนกันล่ะ ให้ดูหลายไฟหน่อยนะครับ จะมีไฟหน้า
    > > ไฟเลี้ยวและไฟหัวเก๋งครับ
    > >
    > > * ขับสวนแล้วดับไฟหน้าแล้วเปิด ส่วนใหญ่จะมีด่านครับ
    > > หรืออีกกรณีจะมีอุบัติเหตุร้ายแรงข้าง หน้า ระวังไว้ครับ
    > >
    > > * กระพริบไฟหน้า อันนี้ส่วนใหญ่เป็นด่านครับ
    > > แล้วต้องมองดูดีๆที่ไฟเลี้ยวด้วยครับ
    > > กระพริบไฟหน้า และเปิดไฟเลี้ยวข้างที่ชี้มาทางเรา
    > > ด่านจะอยู่ฝั่งเราครับ
    > > แต่ถ้าเปิดไฟเลี้ยวด้านฝั่งเค้า แสดงว่ามีตำรวจอยู่ฝั่งนู้นครับ
    > >
    > > *ตอนกลางคืนถ้าเป็นเลนสวนกันขับสวนมาดีๆแล้วกระพริบไฟหน้าครั้ง เดียว
    > > บางทีอาจไม่มีอะไรครับ เป็นแค่การทักทาย หรือ
    > > เป็นการเช็คว่าเราหลับในรึเปล่า
    > > หรือเป็นการถามว่าทางที่เราผ่านมามีอะไร (ตำรวจ) หรือไม่
    > > ถ้าเราไม่หลับ ไม่เคลิ้ม และทางสะดวกให้กระพริบไฟตอบกลับไป 1 ทีครับ
    > >
    > > * เลนสวนกัน และมีขบวนรถขับสวนขึ้นมา ให้มองรถลำดับที่ 2
    > > ในแถวไว้ให้ดีนะครับ
    > > ถ้าเรามาคันเดียวโดดๆ ยิ่งต้องระวังครับ หากรถคันที่ 2
    > > หรือคันต่อๆไปในแถวที่สวนมากระพริบไฟ
    > > หรืออาจจะเบ้หัวออกมานิดนึง และกระพริบไฟ
    > > นั่นแสดงว่ารถคันแรกในขบวนช้า เค้ากำลังจะแซงออกมาแล้วครับ
    > > หากเห็นอย่างนั้น ให้มองให้ดี และเตรียมชลอความเร็ว
    > > ส่วนใหญ่แล้วพอเค้ากระพริบไฟ
    > > เค้าก็จะหักหัวออกมาทันทีครับ เราทำได้อย่างเดียวนะครับ
    > > คือค่อยๆชลอความเร็ว และเบี่ยงออกไหล่ทาง
    > > ไม่ต้องไปต่อกร หรือไปอวดดีเด็ดขาด
    > > พวกนี้พอออกมาแล้วไม่กลับแน่นอนครับ
    > > ยิ่งถ้าพอเค้าออกมาปุ๊บ ดับไฟปั๊บ ตัวใครตัวมันเลยครับ
    > > รับรองได้ว่าไม่หลบแน่นอน
    > > ทีนี้ถ้าคุณคิดว่ารถคุณแข็งกว่าเค้าแน่ๆ ก็ตามสบายครับ
    > > จำไว้ครับรถใหญ่บนทางหลวงเค้าไม่ลงไหล่ทางแน่นอนครับ
    > > เพราะว่ารถมันหนัก
    > > ถ้าลงไหล่ปุ๊บมันจะเอาไม่อยู่ และพลิกคว่ำทันทีครับ เพราะงั้น
    > > หลบได้ก็หลบเถิด
    > > และอีกอย่างนึง รถใหญ่ หนัก เค้าจะไม่ค่อยเบรคกัน
    > > เมื่อเค้าได้รอบได้จังหวะ
    > > เค้าจะออกมาทันที เราต้องเป็นฝ่ายหลบนะครับ
    > > จริงอยู่มันอาจดูว่าเค้าผิด
    > > แต่หากว่าเกิดอะไรขึ้นแล้ว ความผิดหรือถูก
    > > มันก็ไม่สำคัญเท่าชีวิตหรอกครับ
เทคนิคการขับรถขั้นพื้นฐาน
    ก่อนขับขี่
    1. การป้องกันล่วงหน้าโดยตรวจดูรถคุณอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ประหยัดเวลา และทำใหุ้คุณเดินทางได้โดยสวัสดิภาพ ผู้ขับขี่ที่มีความ
รับผิดชอบต้องเดินตรวจรอบรถจนเป็นนิสัย เพื่อตรวจดูสิ่งผิดปกติต่างๆ เช่นยางแบนหรือไม่ แผ่นป้ายทะเบียนรถหลุดหายหรือไม่ มีดวงไฟเสียหรือ
ไม่ เป็นต้น
    2. แต่งตัวให้เหมาะสมกับการขับขี่
          - สวมใส่เสื้อและกางเกงที่พอดี ไม่หลวมและคับรัดร่างกายเกินไป
          - ไม่สวมรองเท้าแตะในขณะขับรพ ควรสวมรองเท้าหุ้มส้นที่มีพื้นบางอ่อนนุ่มเพื่อที่จะได้รับความรู้สึกเมื่อ ใช้เท้าเหยียบคันบังคับคันเร่ง
เบรก และคลัทซ์
          - ผมที่ยาวอาจก่อปัญหาการมองเห็นขึ้นได้ในขณะขับรถ ดังนั้น ต้องหาวิธีจัดการมิให้ผมที่ยาวของคุณเป็นอุปสรรคในขณะขับรถ
    3. เมื่อเปิดประตูรถ
          - คอยสังเกตรถที่กำลังแล่นเข้ามาข้างหลัง
          - อย่าเปิดประตูกว้างเกินไป
          - ถ้ามีรถเยอะ ควรใช้ประตูฝั่งด้านขอบถนน
          - เมื่อคุณอยู่ข้างในรถ ควรล็อกประตู
    4. ปรับที่นั่งคุณจนสามารถจับเครื่องควบคุมทุกอย่างได้โดยไม่ต้องเอื้อมจับ รัดสายเข็มขัด ปรับกระจกส่องหลังและส่องข้างแล้วจึงปลด
เบรกมือ
    การเคลื่อนที่และการหยุดรถ
        สำหรับผู้ขับขี่มือใหม่ แนะนำว่าให้ใช้สนามฝึกขับ เพื่อความปลอดภัย ถ้าไม่มีสนามฝึก ให้ไปฝึกเทคนิคการขับรถขั้นพื้นฐาน
พวกนี้ในสถานที่ ๆ เงียบ ปลอดภัยจากผู้ใช้รถใช้ถนนอื่น และเป็นที่ที่ไม่ห้ามให้ฝึกขับ
          ก่อนขับรถออกไปให้นั่งอยู่ตรงที่คนขับและดูไปรอบ ๆ เพื่อคุณจะได้รู้สึกถึงความกว้างและความยาวของรถ
          จำภาพที่คุณได้เห็นจากที่นั่งคนขับ ต่อมาให้ออกจากรถ และสำรวจดูความยาวและความกว้างของรถ คุณจะพบว่าความกว้างของถนนที่
คุณต้องใช้มันไม่มากอย่างที่คุณคิด
          ขณะขับรถ คุณสามารถประเมินความกว้างของตัวรถได้โดยการคาดคะเนจากความกว้างของช่องทางเดินรถ ที่รถคุณกำลังวิ่งอยู่
    การเคลื่อนที่ออก ให้ดำเนินตามขั้นตอนต่อไปนี้
           ตรวจสอบว่าคันบังคับเกียร์อยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ว่าง
           กดที่เหยียบคันเร่งลงช้า ๆ และหมุนกุญแจเพื่อติดเครื่องยนต์        
           ปล่อยคันเร่งออกเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว
           ตรวจดูผู้ขับขี่ที่อยู่ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณรู้ถึงทิศทางที่ปลอดภัยที่มีอยู่ในขณะนั้น
           ให้สัญญาณบอกทิศทางที่จะเคลื่อนรถไป
           เหยียบคลัทช์ลงและเข้าเกียร์หนึ่ง
           เหยียบคันเร่ง พร้อมกับปล่อยคลัทช์ขึ้นอย่างช้า ๆ
           เมื่อปล่อยคลัทช์ได้ครึ่งทาง คุณจะรู้สึกว่ารอบหมุนของเครื่องยนต์ได้ลดลง ช่วงนี้คลัทช์ได้อยู่ที่จุดจับเครื่องยนต์ หรือที่รู้อีกชื่อหนึ่งว่า ตำแหน่งครึ่งคลัทช์ ให้รักษาตำแหน่งนี้ไว้
           ก่อนออกรถควรตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีรถอยู่ในจุดบอดของกระจกมองข้างโดยการ หันมองไปข้าง ๆ ข้ามไหล่ัตัวเองไปด้านหลังเล็กน้อย
           ปลดเบรกมือออก
           เหยียบคันเร่งลงให้มากอีก พร้อมกับปล่อยคลัทช์ออกอย่างช้า ๆ รถก็จะเริ่มเคลื่อนที่
           ปล่อยให้รถเคลื่อนที่เร็วเท่ากับคนเดิน
           ปล่อยคลัทช์ขึ้นให้หมด
           เหยียบคันเร่งลงเพื่อเพิ่มความเร็ว
           มองไปข้างหน้าความไกลที่คุณควรมองไปข้างหน้าควรอยู่ที่สามเท่าของความ เร็วที่คุณใช้
           ตรวจดูทิศทางของคุณหากคุณรู้สึกว่ารถได้เคลื่อนที่ไปชิดด้านใดด้านหนึ่ง มากเกินไป ให้ปรับพวงมาลัยเพื่อรถจะได้กลับมาอยู่ในทาง
ตรงต่อไป
           หากคุณไม่สามารถขับเคลื่อนรถไปทางตรงเพราะว่าพื้นถนนไม่เสมอกันให้ลดความ เร็วลง การควบคุมทั้งคลัทช์และคันเร่งพร้อมๆ กัน
อาจจะเป็นปัญหาต่อนักขับขี่มือใหม่ในช่วงแรก ๆ ถ้าฝึกฝนมากๆ ก็จะชำนาญเอง ที่ระบุไว้ต่อไปนี้ คือ ปัญหาที่นักขับขี่มือใหม่ส่วนใหญ่มักประสบ
ปัญหา
    สาเหตุ
    เครื่องสั่นมาก ๆ         กดคันเร่งไม่พอหรือไม่ได้อยู่ในตำแหน่งครึ่งคลัทช์
    รถกระตุกหรือกระชาก         กดคันเร่งมากเกินไปแล้วก็ปล่อยคลัทช์เร็วเกินไป
    เครื่องดับไปเฉย ๆ         กดคันเร่งไม่พอแล้วปล่อยคลัทช์ออกเร็วเกินไป

           ในการหยุดรถ คุณควรคำนึงถึงความเร็วที่คุณใช้ และระยะทางข้างหน้า ควรแตะเบรกก่อนเสมอ เพื่อจะหยุดก่อนจะถึงจุดที่คุณต้องการ
ฝึกฝนจนคุณสามารถหยุดตามที่คุณต้องการได้
           คุณควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เสมอ เมื่อจะหยุดรถที่ข้างทาง
                   - คอยดูผู้ขับขี่คนอื่นที่อยู่ข้างหน้าคุณ
                   - ใช้กระจกส่องหลังเพื่อตรวจสอบรถที่มาข้างหลัง
                   - ให้สัญญาณถึงความประสงค์ของคุณ
                   - ตรวจดูจุดบอดที่อยู่ด้านซ้ายของคุณ
                   - ปล่อยคันเร่ง
                   - เคลื่อนที่ไปริมซ้ายของคุณ
                   - เหยียบเบรกลงเบา ๆ
                   - เหยียบคลัทช์ให้สุดในขณะที่จะหยุดรถ
                   - เหยียบทั้งคลัทช์และเบรกให้คงที่ไว้
                   - ดึงเบรกมือขึ้นและเปลี่ยนเกียร์ไปอยู่ที่เกียร์ว่างปล่อยคลัทช์
           ถ้าเหยียบคลัทช์ช้าไปในขณะหยุดรถ จะทำให้เครื่องดับ เพราะฉะนั้นนักขับมือใหม่มักจะเหยียบคลัทช์ก่อนแต่การเหยียบคลัทช์เร็วไปก็
ทำให้ล้อฟรี ซึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ถ้าวิ่งมาด้วยความเร็วสูง
           ควรเหยียบคลัทช์ในจังหวะที่เครื่องเริ่มสั่นพอดี ประสบการณ์จะบอกคุณเองว่าเมื่อไร
           เมื่อออกจากรถ คุณควร
                    - ดับเครื่องยนต์และดึงกุญแจออก
                   - ปลดสายรัดออก
                   - ปลดล็อกประตูและเปิดออกมานิดหนึ่ง แล้วดูให้แน่ใจว่าปลอดภัยก่อนที่จะเปิดให้สุด
                   - เปิดประตูออกช้า ๆ และออกจากรถ
                   - ปิดประตูเบา ๆ
                   - ล็อกประตูทั้งหมดก่อนที่ไปจากรถ
    การเปลี่ยนเกียร์
    เลือกเกียร์ที่เหมาะสม สังเกตความเร็วโดยฟังได้จากเสียงของเครื่องยนต์ การเคลื่อนที่ของสิ่งแวดล้อมข้างนอก และการดูเป็นครั้งคราว
ที่มาตรวัดความเร็ว ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ เมื่อเปลี่ยนเกียร์ขึ้น
    เกียร์ 1
          (1) เหยียบคลัทช์ให้สุด
          (2) เข้าเกียร์หนึ่ง
          (3) ปล่อยคลัทช์ขึ้นครึ่งทาง และเหยียบคันเร่งลงเบา ๆ พร้อมกัน
          (4) ปล่อยคลัทช์ขึ้นอีก และเร่งเครื่องให้เร็วขึ้น
          (5) เร่งเครื่องให้เร็วขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนถึงระดับ 15-20 กม./ชม.
          เกียร์ 2
          (1) เหยียบคลัทช์ลงพร้อม ๆ กันปล่อยคันเร่งออก
          (2) เปลี่ยนจากเกียร์หนึ่งไปสู่เกียร์สอง
          (3) ปล่อยคลัทช์ออกครึ่งทาง และปล่อยออกอีกช้า ๆ พร้อมกับเหยียบคันเร่งลงพร้อม ๆ กัน
          (4) เร่งเครื่องให้เร็วขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนถึงระดับ 30-35 กม./ชม.
          เกียร์ 3
          (1) เหยียบคลัทช์ลงพร้อม ๆ กับปล่อยคันเร่งออก
          (2) เปลี่ยนจากเกียร์สองไปสู่เกียร์สาม
          (3) ปล่อยคลัทช์ออกเรื่อย ๆ ในจังหวะเดียวพร้อมกับเหยียบคันเร่งพร้อม ๆ กัน
          (4) เร่งเครื่องให้เร็วขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนถึงระดับ 40-45 กม./ชม.
          เกียร์ 4
          มีขั้นตอนที่คล้ายๆ กับเกียร์สาม เมื่อเข้าเกียร์สี่แล้ว ให้เร่งเครื่องให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ จนเร็วขึ้นสู่ระดับความเร็วที่ต้องการแต่ต้องไม่เกินความ
เร็วที่กฎหมายกำหนด
          การเปลี่ยนเกียร์จะต้องเลื่อนมือและเท้าไปมาบ่อยครั้ง นักขับมือใหม่มักดูไปที่เกียร์ หรือที่เท้า ตอนที่จะเปลี่ยนเกียร์ นี้เป็นอุปนิสัยที่ไม่ดี
และยากต่อการแก้ไข เป็นการอันตรายอย่างมากที่ละสายตา ไม่มองไปที่ถนนในขณะขับรถ แม้แค่วินาทีเดียว
          ตอนไหนก็ตาม  เมื่อสถานการณ์ไม่อำนวยให้คุณเร่งเครื่องเพื่อเปลี่ยนเกียร์ขึ้นได้  คุณควรบังคับคันเร่งและปรับความเร็วให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ คุณควรเปลี่ยนเกียร์ขึ้นเมื่อโอกาสอำนวย เมื่อคุณลดความเร็วต่ำกว่าเกียร์ที่คุณใช้ คุณควรจะเปลี่ยนให้มันมาอยู่เกียร์ที่ต่ำกว่าหนึ่งเกียร์
          ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ เมื่อเปลี่ยเกียร์ลง
          (1) ปล่อยคันเร่งออกพร้อม ๆ กับเหยียบคลัทช์
          (2) เปลี่ยนเกียร์ไปสู่เกียร์ที่ต่ำกว่า
          (3) ปล่อยคลัทช์ขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับเหยียบคันเร่งลงพร้อมกัน ตามความเร็วของรถ
          (4) ถ้าความเร็วรถชะลอลงจนเกือบหยุด ให้เข้าเกียร์หนึ่ง
          (5) ถ้าความเร็วลดลงมาก การเปลี่ยนเกียร์ให้ต่ำกว่าหนึ่งเกียร์ อาจจะไม่พอที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานอยู่ได้ เพราะฉะนั้นคุณควรเปลี่ยน
ไปอยู่ที่เกียร์ที่เหมาะสม จากเกียร์สี่ไปเกียร์สอง หรือจากเกียร์สามไปเกียร์หนึ่ง

มารยาทในการขับรถ
    ปัจจุบันการขับขี่ยวดยานพาหนะในทางสาธารณะ นอกจากผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจรโดยเคร่งครัดแล้วเท่านั้นยังไม่เพียงพอ
เพราะอุบัติเหตุส่วนหนึ่งมาจากการทะเลาะวิวาทอันเนื่องมาจากการขาดมารยาทใน  การใช้รถใช้ถนน  เกิดความขุ่นเคือง  โมโห  อาฆาตพยาบาท
ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้ขับขี่ต้องศึกษา ทำความเข้าใจในมารยาทและความเอื้ออาทรในระหว่างผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการ
ใช้รถใช้ถนน ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงควรหันมารณรงค์ ร่วมกันใช้มารยาทที่ดี และมีน้ำใจ เห็นอกเห็นใจ ให้อภัยต่อเพื่อผู้ร่วมทางด้วยกัน ดังต่อไปนี้
    1. มารยาท ในการสตาร์ทรถ
    ไม่ควรย้ำคันเร่งหรือเหยียบคันเร่งเครื่องยนต์ค้างไว้ จนเกิดเสียงดังน่ารำคาญ เพิ่มมลพิษ ไอเสียให้สิ่งแวดล้อม สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
    2. มารยาทในการเคลื่อนรถออกจากที่จอด
    - ควรเหยียบคันเร่งออกรถด้วยความนุ่มนวล ระมัดระวังรอบคอบ
    - ไม่ออกรถแบบกระชาก สร้างความหวาดเสียวตกใจเสียงดังแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง
    3. มารยาทในการเร่งความเร็ว
    - การไต่ความเร็วให้สูงขึ้น ควรเพิ่มแรงเหยียบคันเร่งด้วยความนุ่มนวล
    - กรณีฉุกเฉินที่จำเป็นต้องเร่งความเร็วแบบฉับพลัน (ในระบบเกียร์อัตโนมัติ) ควรโอเวอร์ไดร์ฟ แทนการคลิกดาวน์ (การเหยียบคันเร่ง
อย่างเร็วและสุดคันเร่ง) จะทำให้รถเคลื่อนไปแบบไม่กระชาก
    4. มารยาทในการใช้ความเร็ว
    - ควรใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด (เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นทั้งกฎหมายและมารยาท)
    - ในเขตชุมชน คนพลุกพล่าน ต้องลดความเร็วให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ แม้ขับรถไม่เกินความเร็วขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด แต่บาง
ครั้งบางสถานที่อาจถือว่าไม่มีมารยาทก็ได้
    5. มารยาทในการแซง
    - ควรให้สัญญาณก่อนแซงทุกครั้ง เพื่อให้รถคันหน้ารู้ตัวและระมัดระวังหรือให้ทาง
    - ไม่แซงในที่หรือเขตห้ามแซง หรือในที่คับขัน เพื่อมิให้เกิดความหวาดเสียวแก่ผู้อื่น
    - การขับผ่านรถที่จอดริมถนน (ด้านที่เราขับ) ต้องดูว่ามีรถที่วิ่งสวนทางมาหรือเปล่า ถ้ามีรถสวนมาให้รถคันที่สวนมาขับผ่านไปก่อนแล้ว
เราค่อยขับแซงขึ้นไป
    - ถนนยิ่งแคบ ยิ่งต้องขับช้า ๆ และแซงด้วยความระมัดระวัง
    - ควรเว้นระยะให้ห่างจากรถคันที่ถูกแซงอย่างเหมาะสม ไม่เบียดจนเกินไป
    - แซงแล้ว ไม่หักเข้าซ้ายเร็วจนเกินไป ดูเป็นลักษณะปาดหน้า ทำให้รถคันถูกแซงต้องเบรคตัวโก่ง หรือหักหลบเสียการควบคุมรถ
    - แซงพ้นแล้วให้ชิดซ้ายทันที ไม่ว่าจะมีรถตามหลังมาหรือไม่ หากมีรถตามหลังมาก็จะไม่เป็นการกีดขวางรถคันอื่น
    6. มารยาทในการให้แซง
    - เมื่อมีรถจะแซงควรขับชิดทางซ้าย เพื่อให้มีช่องทางเพียงพอแก่รถที่ขอแซง
    - เมื่อเห็นสัญญาณขอแซงจากรถคันหลัง เช่น การดับไฟ การให้สัญญาณไฟเลี้ยวขาว เราควร “ตอบรับ” ด้วยการให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย และลดความเร็วให้รถคันหลังแซงขึ้นไป
    - ไม่ควรเร่งความเร็วตีคู่กับรถที่ขอแซง เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ หรือเกิดการวิวาทได้ ซึ่งในทางคดีมักจะถือว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความประมาทของทั้งสองฝ่าย (ผิดทั้งคู่แม้คันที่ไม่ยอมให้แซง จะไม่ชนใครก็ตาม)
    - เมื่อมีรถแซงขึ้นมาตีคู่รถเรา แล้วมีรถวิ่งสวนทางมา เราควรลดความเร็วเพื่อเว้นช่องว่างให้รถที่ตีคู่เรามามีช่องว่างหลบเข้ามา เป็นน้ำใจที่ช่วยลดอุบัติเหตุ (แม้ว่าคนที่ขับตีคู่มาจะขับไม่ถูกต้องและใจเราไม่อยากเปิดทางให้ก็ตาม แต่เราต้องให้อภัย เพื่อร่วมกันลดอุบัติเหตุ)
    7. มารยาทในการเลี้ยวรถ
    - ให้สัญญาณล่วงหน้าในระยะที่เหมาะสม และชะลอความเร็วรถลง เพื่อให้รถคันอื่นรู้ตัว
    - การเลี้ยวซ้ายในทางร่วมทางแยก เราจะเห็นป้าย “เลี้ยวซ้ายผ่านตลาด” หมายความว่าเลี้ยวได้ต่อเมื่อเห็นว่าปลอดภัย มารยาทที่ต้องคำนึงในกรณีนี้คือ การให้รถอื่นไปก่อน ต่อเมื่อเห็นว่า รถว่างปลอดภัยแล้ว จึงเลี้ยวซ้ายได้ มิได้หมายความว่า เลี้ยวซ้ายได้เลยไม่ต้องระวัง
อะไร
    - เมื่อเลี้ยวรถเรียบร้อยแล้ว ต้องเปลี่ยนสัญญาณไฟให้กลับสู่ปกติ ไม่ลืมเปิดค้างไว้
    8. มารยาทในการเปลี่ยนช่องเดินรถ
    - ให้สัญญาณไฟซ้ายหรือขวาล่วงหน้าในระยะที่เหมาะสม
    - เมื่อเห็นปลอดภัยแล้วให้เปลี่ยนช่องเดินรถโดยเร็ว แล้วเปลี่ยนสัญญาณไฟกลับเป็นปกติ
    - ใช้ความเร็วให้สอดคล้องกับรถที่อยู่ในช่องการเดินรถนั้น ไม่ให้รถที่ตามมาต้องชะงักหรือเบรคเสียจังหวะ
    9. มารยาทในการขับรถสวนทางกัน
    - ถ้าทางสวนกัน ต้องลดความเร็ว ใช้ความเร็วให้เหมาะสม ขับรถชิดของซ้ายให้มากที่สุด
    - ไม่ใช้ไฟสูงเป็นเด็ดขาด เพราะจะแยงตาผู้ขับรถคันที่สวนมา
    - ขับชิดขอบทางด้านซ้ายให้มาก เท่าที่จะทำได้ ไม่กินเลนเข้าไปในช่องเดินรถอื่น เพื่อไม่ให้เกิดการหวาดเสียว
    10. มารยาทการใช้แตร
    - แตรรถ มีไว้เพื่อใช้เตือนหรือให้ระมัดระวัง ซึ่งจะใช้เสียงสั้น ๆ เช่น ปิ๊น หรือ ปิ๊น ปิ๊น
    - ไม่ใช้แตรด่าผู้ขับขี่อื่น การด่าด้วยเสียงแตรส่วนใหญ่จะเป็นเสียงยาว ปิ๊น. . . . . . . . . . . . . . . . ปิ๊น
    - ไม่ใช้แตรในเขตชุมชน โรงพยาบาล หรือเขตห้ามใช้เสียง
    - ไม่ใช้แตรขณะรถจอดอยู่ เว้นแต่รถคันอื่นจะถอยมาชน
    - แตรรถ มักใช้เมื่อ
        ทางโค้งหักศอกหรือโค้งที่มองไม่เห็นรถสวนมา
        มุมอับในซอยที่มีกำแพงทึบบังอยู่หรือบริเวณที่ไม่แน่ใจ เพื่อเตือนรถที่สวนมา
        เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เช่น รถของเราเบรคแตก ยางระเบิด เพื่อให้รถคันอื่นรู้ตัว หลบหลีก
        ขอความช่วยเหลือ
    11. มารยาทการใช้ไฟสูง
    - มีความหมายเช่นเดียวกับแตร คือ ใช้ไฟสูงเพื่อเตือนให้ระวัง แต่นิยมใช้ในเวลากลางคืน
    - กรณีที่มักใช้ไฟสูง
        เวลาขับข้ามเนิน ทางโค้ง เพื่อให้รถวิ่งสวนมารู้ว่า มีรถเรากำลังวิ่งสวนไป
        ใช้เตือน ขอทางก่อนแซง
        ใช้ตรวจทางข้างหน้าให้แน่ใจว่ามีลักษณะทางอย่างไร มีสิ่งกัดขวางหรือไม่
    - ไม่ควรใช้ไฟสูงในลักษณะไล่รถคันหน้าหรือแกล้งให้รถคันที่สวนมามองไม่เห็น แสบตา
    12. มารยาทในระหว่างขับรถปกติ
    - ควรขับชิดซ้ายเป็นหลักสากล
    - ไม่ขับคล่อมช่องเดินรถ เพราะจะทำให้คนอื่นสับสนในการแซง หรือการขับตามหลัง
    - ไม่ใช้สัญญาณไฟสูง จะแยงตารบกวนคนที่ขับรถคันข้างหน้า
    - แตะเบรคเท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้รถคันหลังต้องชะงักตาม
    - การเปลี่ยนช่องเดินรถ (เปลี่ยนเลน) ต้องให้สัญญาณก่อนและเปลี่ยนในจังหวะที่ปลอดภัย ไม่หวาดเสียว แล้วเร่งความเร็วให้สัมพันธ์กับรถใน
ช่องนั้น)
    - ให้ความสะดวกแก่รถฉุกเฉินต่าง ๆ
    - ไม่ขับจี้ท้าย แต่ควรเว้นระยะห่างให้เหมาะสม การขับจี้ท้ายจะทำให้รถคันข้างหน้ารำคาญ กังวลใจ เครียด และอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
    13. มารยาทการขับผ่านทางข้าม หรือเขตชุมชน เขตโรงเรียน
    - ให้ลดความเร็ว และใช้ความระมัดระวังกว่าปกติ
    - มีน้ำใจให้คนเดินเท้าในการข้ามถนน
    - ไม่กดแตร หรือกระพริบไฟ ในลักษณะไล่ หรือทำให้ตกใจ แต่ควรใช้ในลักษณะเป็นการเตือนจะดีกว่า
    14. มารยาทในการขับรถลุยฝน / น้ำ
    - ควรใช้ความเร็วต่ำ เพื่อไม่ให้น้ำกระเซนไป โดนคนเดินเท้า หรือรถคันอื่น
    - หลีกเลี่ยงผิวถนนที่มีน้ำขัง เพราะอาจทำให้เกิดการแฉลบ น้ำกระเซ็น
    - ไม่เปิดไฟกระพริบฉุกเฉินขณะฝนตก เพราะจะทำให้คนขับรถคันที่ขับตามหลัง เกิดความรำคาญ เสียสมาธิ และเป็นพฤติการณ์ที่ไม่ถูกกฎ
จราจรด้วย
    - เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควรมากกว่าการขับถนนแห้งเป็นระยะ 2 เท่า เพราะเบรคอาจลื่นกว่าสภาพการณ์ปกติเพื่อมิให้รถคันข้างหน้า
หวาดเสียว ต้องเร่งความเร็วหนีเราไปอีก
    15. มารยาทในการใช้สปอร์ตไลท์ หรือไฟตัดหมอก
    - ควรใช้เมื่อมีหมอก ควัน ตามวัตถุประสงค์ของการผลิต
    - ในสภาพจราจรปกติ แม้เป็นเวลากลางคืน แสงไฟหน้ารถก็เพียงพอแล้ว ไม่ควรใช้ สปอร์ตไลท์ เพราะเป็นการรบกวนคนอื่น ทำให้แยงตารถ
คันหน้า หรือรถที่สวนมา ทำให้สายตาพร่ามัว ก่ออันตรายในการขับรถ หรือคู่กรณีอาจเปิดไฟสูง เพื่อตอบโต้ เป็นสาเหตุการวิวาทในท้องถนน โดยไม่มี
เหตุสมควร
    - หากเห็นว่ามืดจริงๆ เช่น ในถนนผ่านป่า เขา ก็เปิดไฟสูงได้ แต่เมื่อเห็นว่ามีรถอยู่ข้างหน้าหรือเห็นว่ารถสวนมา ก็ควรปิดเสีย หรือพูดง่าย ๆ
ว่า เปิดเมื่อไม่รบกวนคนอื่น
    - ควรมีฝาครอบปิดสปอร์ตไลท์ไว้ เมื่อขับรถในเมือง
    - ไฟตัดหมอกหลัง “สีแดง”มีในรถบางรุ่น เพื่อเตือนรถคันที่ตามมา ควรเปิดเมื่อหมอกลงหรือฝนตกหนัก ไม่ควรเปิดในสภาพทางปกติ
    16. มารยาทในการหยุดรถ
    - ดูกระจกมองหลังว่า มีรถตามมาหรือไม่
    - ควรให้สัญญาณล่วงหน้าในระยะที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณแตะไฟเบรคให้รู้ หรือให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย (กรณีขอหยุดจอดข้างทาง)
    - ลดความเร็วลง โดยค่อย ๆ แตะเบรคในระยะที่รถคันหลังมีเวลาเบรคได้ทัน
    - ต้องไม่หยุดรถขวางทางเข้า-ออก ขวางช่องทาง “เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด” ขวาง “เส้น ทะแยงห้ามหยุด” หรือขวางการจราจรต่าง ๆ ที่สำคัญคือ
เมื่อหยุดรถต้องดูรอบ ๆ ว่าจอดขวางใครหรือไม่ ถ้าขวาง ต้องหาทางขยับรถเพื่อเปิดทางให้คนอื่น
    17. มารยาทในการใช้เบรค
    - ไม่แตะเบรคโดยไม่จำเป็น หรืออย่าแตะบ่อยจนเกินไป จะทำให้รถคันหลังที่ตามมาชะงัก รำคาญ เพราะต้องแตะเบรคตามโดยไม่จำเป็นเช่นกัน
    - ไฟเบรคต้องไม่เสีย
    18. มารยาทในการจอดรถ
     - ควรจอดให้ชิดขอบทางให้มากที่สุด
    กรณีมีช่องจอด
    * ควรถอยหลังเข้าจอด หันหน้ารถออกและจอดให้ตรงช่องจอด
    * ควรดูระยะห่างระหว่างคัน เพื่อให้รถคันอื่นเข้าจอดได้สะดวก เปิดประตูรถได้สะดวก
    * ไม่ควรจอดซ้อนคัน แต่ถ้าหากจำเป็นต้องจอดซ้อนกัน จะต้องตั้งล้อให้ตรงไม่ดึงเบรคมือหรือล็อคเกียร์ เพื่อให้คนอื่นสามารถเลื่อนรถเราออก
และให้รถคันที่จอดด้านในขับออกได้

    กรณีไม่มีการแบ่งช่องจอด
    * ไม่จอดกินพื้นที่ต้องกะระยะให้รถคันอื่นจอดได้มากคันที่สุด
    * ไม่ควรจอดซ้อนคัน แต่ถ้าจอดซ้อนคันจะ ต้อง ไม่ล็อคเบรคมือหรือเกียร์
    * ไม่จอดในลักษณะกีดขวางการจราจร หรือกีดขวางรถผู้อื่น
    * กรณีรถจอดเสีย ให้แสดงไฟฉุกเฉิน หรือป้ายสามเหลี่ยม
    * ไม่ควรจอดในพื้นที่ห้ามจอด เพราะผิดทั้งกฎจราจรและเป็นจุดอันตรายด้วย
    * การจอดรถรอสัญญาณไฟเขียวไฟแดง ต้องเว้นระยะห่างระหว่างคันหน้าเรา คันหลังเรา และคันด้านข้างเราด้วย ให้เหมาะสม ให้รถจักรยานยนต์
ผ่านได้สะดวก
    19. การแสดงการขอโทษ
ในกรณีที่เราขับรถผิดมารยาท ผิดกฎจราจร หรืออะไรก็ตามที่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เราต้องไม่เพิกเฉยที่จะแสดงการขอโทษ เช่น การยกมือขวาขึ้นระดับคิ้ว พร้อมโค้งศีรษะ หรืออาการอื่น ๆ ที่สื่อว่าเรารู้ตัวว่าเราผิดและขอโทษด้วย
    20. การแบ่งปันน้ำใจ
    มารยาทในขณะขับรถ ที่สังคมเรียกร้องกันมากคือ การแบ่งปันน้ำใจ ซึ่งจะสะท้อนออกมาจากผู้ขับขี่ว่า มีจิตใจอย่างไรบ้าง และมีหลากหลายรูปแบบ เช่น
    * การมีเมตตาธรรมต่อผู้เดินเท้า ได้แก่ การระวังไม่น้ำกระเซ็นไปโดนคนเดินเท้า การหยุดรถให้คนเดินเท้าข้ามถนน ไม่ใช้แตรให้ตกใจ
    * การมีน้ำใจกับผู้ขับขี่อื่น ได้แก่ การเปิดทางให้แทรกเข้ามาในช่องเดินรถ การเปิดทางให้แซง การเตือนรถสวนมาว่าข้างหน้ามีด่านตำรวจ
    * การไม่อาฆาตพยาบาทผู้อื่นการรู้ให้อภัยต่อผู้อื่น
    21. การแสดงความขอบคุณ
    การแสดงความขอบคุณ เป็นมารยาทที่จำเป็นต้องใช้ให้เคยชินติดเป็นนิสัย โดยถ่ายทอดความรู้สึกที่ดีที่เราได้รับการปฏิบัติหรือได้รับน้ำใจที่ดีจาก
ผู้ใช้ทาง เช่น การโค้งศีรษะขอบคุณ การส่งยิ้มขอบคุณ การยกมือขวาพร้อมโค้งศีรษะ
    การจอดรถอย่างมีมารยาท
    1. ไม่ควรจอดรถใกล้ปากซอย หรือทางเข้าออกมากเกินไป ทั้งช่วงก่อนถึงและช่วงที่รถต้องเลี้ยวออก ท่านจะทำให้รถที่เลี้ยวเข้าต้องชะลอรถบน
ถนนใหญ่ และเวลาออกไม่สามารถชิดซ้ายเพื่อเลี้ยวออกได้ทันที ทำให้รถติด ในซอย และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
    2. ไม่ควรจอดรถใกล้ทางแยกในซอยที่แคบประมาณสองเลน รถท่านอาจโดนเฉี่ยวจากรถที่ตีวงเลี้ยวไม่พ้นได้ และทำให้การจราจรติดขัดเพราะ
รถทุกคันต้องชะลอเพื่อหลบรถท่าน
    3. หากท่านที่ยังถอยจอดไม่คล่อง ควรฝึกให้เกิดความเคยชินเพื่อความรวดเร็วของทั้งตัวท่านเองและเพื่อนผู้ใช้รถทุกคน
    4. ก่อนจอดอย่าลืมดูว่ามีคันอื่นที่มาก่อนเราจอดเปิดไฟกระพริบรออยู่หรือไม่ ส่วนมากมักจะเลยไปจากช่องที่ว่าง เพื่อถอยจอด เอาหัวออกมา
ก่อนให้เค้าได้ออกก่อน
    5. อย่าจอดรถหันหัวรถสวนทางกับรถที่วิ่งมา หรือจอดรถต้องชิดซ้ายนั่นเองถ้าวิ่ง ๆ มาแล้วเห็นซีกขวาของซอยว่างแล้ววิ่งสวนเลนไปจอดโดย
ไม่กลับรถถือว่าผิดกฎจราจร มีสิทธ์โดนใบสั่งได้
    6. เส้นเหลือง ห้ามหยุด เผื่อ ๆ ไว้หน่อย อย่าตามติดคันหน้า ถ้าไม่แน่ใจว่า รถท่านจะพ้นเส้นเหลือง
    7. ในสถานที่ที่เป็นวันเวย์ต้องวิ่งวนเพื่อออกแล้วไปเจอรถวิ่งช้าเพื่อหาที่จอดก็ช่วย ๆ กันใจเย็น ๆ ถ้าเรา เป็นคันหาที่จอดก็เร่ง ๆ หน่อย แต่ถ้า
เป็นคันหลังก็ใจเย็นหน่อยถนนแบ่ง ๆ กันใช้ จะไปเร่งเค้ามากก็เกินไป แต่คันหน้าช้าไปก็ไม่ดี แบ่ง ๆ กันไปใจเย็น ๆ  ยังไงอยู่ในสถานที่แบบนั้นก็ไม่ควร
ขับเร็วมากนัก
    8. จอดรถซ้อนคัน อย่าลืมปลดเบรคมือ ยิ่งซ้อนสองคัน ยิ่งอย่าลืมใหญ่
    9. อย่าจอดคร่อมสองช่องจอด หรือชิดเส้นซะจนคันอื่นเข้าไม่ได้เสียดายถนน เงินภาษีพวกเราทั้งนั้น
    10. หลีกเลี่ยงการจอดรถขวางหน้าบ้าน ตึกแถว ถ้าจำเป็นอย่าลืมปลดเบรคมือ
    11. บ้านไหนมีขโมยเยอะ ถ้าจอดในบ้านจอดเอียงหน่อยก็ดี ไม่งั้นมันจะเข็นออกง่ายไปเห็นในข่าวเค้าเอา สังกะสีปูรอบรถ ใครเดินเข้าใกล้หรือ
คิดจะลากออกก็มีเสียงดังแล้วส่วนพวกที่ล็อคพวงมาลัย ล็อคเกียร์ ล็อค คลัทช์ ทำได้แค่ยืดเวลางัดออกไปเท่านั้นไม่กี่นาที ก็ขนไปแล้ว
กฏหมายจราจรที่ควรทราบ
             กฏหมาย/ข้อบังคับ :: พร บ.จราจร ลักษณะที่ 6 การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน ลักษณะ 7 รถฉุกเฉิน
ลักษณะ 6  การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน
มาตรา 71    ภายใต้บังคับมาตรา 21 และมาตรา 26 เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงทางร่วมทางแยก ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติดังนี้
        (1) ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน
        (2) ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนผ่านไป
        ก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอกตัดผ่านทางเดินรถทางโท ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเอกมีสิทธิขับผ่าน
        ไปก่อน
        (3)(1) ถ้าสัญญาณจราจรไฟสีเขียวปรากฏข้างหน้า แต่ในทางร่วมทางแยกมีรถอื่นหยุดขวางอยู่จนไม่สามารถผ่านพ้นทาง
        ร่วมทาง แยกไปได้ ผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถที่หลังเส้นให้รถหยุดจนกว่าจะสามารถเคลื่อนรถผ่านพ้นทาง ร่วมทางแยกไปได้
มาตรา 72(2)    ทางเดินรถทางเอกได้แก่ทางเดินรถดังต่อไปนี้
        (1) ทางเดินรถที่ได้ติดตั้งเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นทางเดินรถทางเอก
        (2) ทางเดินรถที่มีป้ายหยุดหรือป้ายที่มีคำว่า ให้ทาง ติดตั้งไว้ หรือทางเดินรถที่มีคำว่าหยุดหรือเส้นหยุดซึ่งเป็นเส้นขาวทึบ
        หรือเส้นให้ ทางซึ่งเป็นเส้นขาวประบนผิวทาง ให้ทางเดินรถที่ขวางข้างหน้าเป็นทางเดินรถทางเอก
        (3) ในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายจราจรตาม (1) หรือไม่มีป้ายหรือเส้นหรือข้อความบนผิวทางตาม (2) ให้ทางเดินรถที่มีช่อง
        เดินรถมากกว่าเป็นทางเดินรถทางเอก
        (4) ถนนที่ตัดหรือบรรจบกับตรอกหรือซอย ให้ทางเดินรถที่เป็นถนนเป็นทางเดินรถทางเอก  ทางเดินรถอื่นที่มิใช่ทาง เดิน
        รถทางเอกตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นทางเดินรถทางโท
มาตรา 73    ในกรณีที่วงเวียนใดได้ติดตั้งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณ-จราจรหรือเครื่องหมาย
        จราจรนั้นถ้าไม่มี สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึง วงเวียน ต้องให้สิทธิแก่ผู้ขับ
        ขี่ซึ่งขับรถอยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของตนขับผ่านไปก่อน ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือ
        ความสะดวกในการจราจรจะให้สัญญาณจราจรเป็นอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน วรรคหนึ่งหรือวรรคสองก็ได้ ในกรณี
        เช่นนี้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจร ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้
มาตรา 74    ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถออกจากทางส่วนบุคคลหรือทางเดินรถในบริเวณอาคาร เมื่อจะขับรถผ่านหรือเลี้ยวสู่ทางเดินรถที่ตัดผ่าน
        ต้องหยุดรถเพื่อให้รถ  ที่กำลังผ่านทางหรือรถที่กำลังแล่นอยู่ในทางเดินรถผ่านไปก่อนเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถ
        ต่อไปได้
ลักษณะ 7  รถฉุกเฉิน
มาตรา 75    ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้
        (1) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้
        (2) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด
        (3) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้
        (4) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร
        (5) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับ ช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการ
        เลี้ยวรถที่กำหนดไว้ในการปฏิบัติ ตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
มาตรา 76    เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณ แสง วับวาบ  หรือได้ยิน
        เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้
        รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
        (1) สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด
        (2) สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายหรือในกรณีที่ มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุด
        ของทางเดินรถต้องหยุดรถหรือจอด รถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
        (3) สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยกในการปฏิบัติตาม (2) และ (3)
        ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำ ได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
การทดสอบความรู้ความสามารถใน การขับรถ

    การตรวจสอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามสำหรับการดำเนินการดังต่อไปนี้
    (1) การออกใบอนุญาตขับรถใหม่ทุกชนิด ยกเว้นใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์
    (2) การต่ออายุใบอนุญาตขับรถทุกชนิด
    (3) การย้ายใบอนุญาตขับรถสาธารณะเข้า
    การตรวจสอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม จะต้องทำการทดสอบตามลำดับวิธีการทดสอบดังนี้
    (1) การทดสอบสายตาบอดสี
    (2) การทดสอบข้อเขียน
    (3) การทดสอบขับรถ

    ส่วนที่ 1 การทดสอบสายตาบอดสี
                         ให้ผู้เข้ารับการทดสอบสายตาบอดสี ดูสีเขียว สีแดง และสีเหลืองจากเครื่อง
                    ทดสอบหรือแผ่นภาพทดสอบของกรมการขนส่งทางบก โดยต้องอยู่ห่างในระดับสายตาประ
                    มาณ 3 เมตร และให้อ่านแต่ละสีได้ไม่เกิน 3 ครั้งตามแสงไฟของเครื่องทดสอบ หรือตาม
                    ตำแหน่งที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชี้กำหนดให้อ่าน ซึ่งจะสับเปลี่ยนตำแหน่งไป ถ้าผู้เข้ารับ
                    การทดสอบอ่านสีได้ถูกต้องครบทุกสี ๆ ละ 2 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบกรณีไม่ผ่านการ
                    ทดสอบให้มีสิทธิทดสอบแก้ตัวในวันนั้น หรือวันทำการถัดไป

     ส่วนที่ 2 การทดสอบข้อเขียน
        ให้ผู้เข้ารับการทดสอบ ข้อเขียน ทดสอบความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตาม
กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และ กฏหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตามชนิดของใบอนุญาต กรณี
เป็นการทดสอบสำหรับการ ขอรับใบอนุญาตขับรถสาธารณะให้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับถนนและ
ทางหลวงในเขต จังหวัดที่ขอรับใบอนุญาตขับรถนั้น ด้วยแบบทดสอบข้อเขียนให้จัดทำเป็นปรนัย
จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชุด แต่ละชุดมี 30 ข้อๆ ละ 1 คะแนนหมุนเวียนสับเปลี่ยนแต่ละชุดตาม
ความเหมาะสม โดยใช้เวลาทดสอบ 20 นาที และต้องให้คะแนน ตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป จึงถือ
ว่าจะผ่านการทดสอบ จักรยานยนต์ มีข้อสอบปรนัย จำนวนไม่น้อยกว่า 5 ชุด แต่ละชุดมี 20 ข้อ  
    กรณีผู้เข้ารับ การทดสอบอ่านและเขียนหนังสือไม่ได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการทดสอบอ่านคำถามให้ฟังแล้วให้ผู้เข้ารับการทดสอบ
ตอบด้วยปากเปล่าและทำเครื่องหมายด้วยตนเอง และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการทดสอบบันทึกในกระดาษคำตอบว่า “สอบปากเปล่า” พร้อมทั้ง
ลงนามกำกับไว้เป็นหลักฐานเมื่อเสร็จสิ้นการสอบ ให้รีบตรวจคำตอบและแจ้งผลการทดสอบให้ทราบโดยเร็ว
    ส่วนที่ 3 การทดสอบขับรถ
                                     ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตขับ รถทดสอบความสามารถในการขับรถตามชนิด
                        ของใบอนุญาตในท่าทดสอบ ดังนี้
                        ท่าที่ 1    การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
                        ท่าที่ 3    การขับรถถอยหลังเข้าจอด
                        ท่าที่ 7    การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
                            การทดสอบขับรถทุก ชนิด ยกเว้นรถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์ หรือ
                        รถบดถนนให้ทดสอบขับรถจำนวน 3 ท่าการทดสอบขับรถจักรยานยนต์ให้ทดสอบ
                        เฉพาะท่าที่ 7 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร การทดสอบรถแทรกเตอร์
                        หรือรถบดถนน ให้ทดสอบท่าใดท่าหนึ่งตามที่ นายทะเบียนเห็นสมควร

ท่าทดสอบขับรถ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้
แบบที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอด
    (1) นำรถถอยหลังเข้าจอด โดยท้ายรถต้องตั้งฉากกับขอบทาง
    (2) ล้อรถต้องไม่ทับเส้นทางช่องทาง ไม่ปีน หรือไม่ตกขอบทาง แต่ให้ชนหรือเบียดขอบทางได้

แบบที่ 7 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
    (1) ให้ขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร เช่นการเลี้ยวรถ การหยุดรถ การชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถเป็นต้นที่กำหนดไว้ตาม
จุดต่าง ๆ บนเส้นทางการทดสอบขับรถไม่น้อยกว่า 5 เครื่องหมายและต้องให้สัญญาณให้ถูกต้องทุกเครื่องหมายโดยใช้สัญญาณไฟหรือ สัญญาณมือประกอบด้วย เว้นแต่ผู้ขับรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ ให้ใช้เฉพาะสัญญาณมือประกอบเท่านั้น
    (2) นอกจากต้องปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรที่กำหนดตาม (1) แล้ว ต้องปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรดังนี้ด้วย คือ
        (ก) เครื่องหมายจราจรชนิดแผ่นป้าย เช่น ป้ายหยุด เป็นต้น
        (ข) เครื่องหมายจราจรบนผิวทาง เช่น เส้นประ เส้นทึบ เป็นต้น

    ผู้เข้ารับการ ทดสอบต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้จึงถือ ว่าผ่านการทดสอบ โดยให้แจ้งผลใน
ทันทีเมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ กรณีผู้เข้ารับการทดสอบไม่ผ่านการทดสอบในท่าใด ให้มีสิทธิทดสอบแก้ตัวใหม่เฉพาะท่าที่ไม่ผ่าน เมื่อพ้นกำหนด
สามวันทำการนับแต่วันที่ทดสอบไม่ผ่าน ทั้งนี้ เว้นแต่มีเหตุอันสมควร ให้นายทะเบียนมีอำนาจพิจารณาให้ทดสอบก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้
เป็นการเฉพาะราย